คมนาคม

คมนาคมอสังหาฯเศรษฐกิจมหาภาค

การบินไทยเซ็น MOU ศูนย์ซ่อมอู่ตะเภา

การบินไทยร่วมลงนามกับ กองทัพเรือ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ในบันทึกข้อตกลงเบื้องต้นว่าด้วยการให้สิทธิแก่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อประกอบกิจการบนพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ซึ่งเป็นพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารเรือ นายโชคชัย ปัญญายงค์ รองเลขาธิการสายงานโครงสร้างพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และนางอุษณีย์ แสงสิงแก้ว รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเบื้องต้นว่าด้วยการให้สิทธิแก่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อประกอบกิจการบนพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ซึ่งเป็นพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ โดยมี พลเรือเอก โสภณ วัฒนมงคล ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพเรือ เรืออากาศโท เฉลิมพล อินทรวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักสายงานโครงสร้างพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก นายสุรชัย เพียรเจริญศักดิ์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายช่าง การบินไทย ร่วมเป็นสักขีพยาน และมีนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานกรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และเรืออากาศเอก กนก ทองเผือก รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายบริหารงานกฎหมายและบริหารทั่วไป บริษัท การบินไทยฯ ร่วมในพิธี ณ ห้องรับรอง กองบัญชาการกองทัพเรือ วังนันทอุทยาน นางอุษณีย์ แสงสิงแก้ว รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าการลงนามในบันทึกข้อตกลงเบื้องต้นว่าด้วยการให้สิทธิแก่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อประกอบกิจการบนพื้นที่ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ซึ่งเป็นพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ นี้ เป็นการดำเนินการในลำดับถัดมาต่อจากการจัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา ซึ่งจะใช้นำไปประกอบการเสนอขอความเห็นชอบในหลักการของโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภาจากคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก   บันทึกข้อตกลงเบื้องต้นฯ นี้ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมอบสิทธิจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และกองทัพเรือ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่บริหารพื้นที่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ให้แก่ บริษัท...
คมนาคมเศรษฐกิจเศรษฐกิจมหาภาค

จัดงาน EEC Workshop ดึงนักลงทุนญี่ปุ่น

กระทรวงอุตสาหกรรม จับมือหอการค้าญี่ปุ่น และเจโทร ให้ข้อมูลเชิงลึกการลงทุนในอีอีซี หวังดึงนักธุรกิจญี่ปุ่นร่วมลงทุนมากขึ้น เผยมีนักลงทุนกว่า 1 พันรายแสดงความสนใจลงทุนแล้ว นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า  กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับ หอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ (JCC) และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ Eastern Economic Corridor (EEC) Workshop ให้กับนักลงทุนญี่ปุ่นที่มีความสนใจที่จะลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ ECC เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ รูปแบบการลงทุน พร้อมกันนี้ได้เผยถึงความคืบหน้าในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใน EEC โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้เชิญผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญ จำนวน 4 หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญ ได้แก่ สำนักงาน BOI สำนักงาน EEC การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกรมสรรพากร เป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในเขต EEC  โดยมีนักลทุนจากญี่ปุ่นราว 100 ราย เข้าร่วมงาน สำหรับการจัดงานดังกล่าว เป็นผลสืบเนื่องจากได้มีโอกาสพบกับประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC) ประธาน JETRO และคณะ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ที่ผ่านมา ทำให้ทราบว่านักลงทุนญี่ปุ่นมีความสนใจที่จะทราบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ รูปแบบการลงทุน และความคืบหน้าในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใน EEC การจัดงานดังกล่าว เป็นการแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วน เศรษฐกิจที่ดีกับทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของญี่ปุ่นเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ รัฐบาลมุ่งหวังให้โครงการ EEC เป็นการสร้างฐานความเจริญใหม่ที่มีศักยภาพสูง (New High Potential Growth Platform) ที่จะนำไปสู่การเจริญเติบโตแบบทั่วถึงทุกภาคส่วน (Inclusive Growth) ในรูปแบบ WIN-WIN ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทญี่ปุ่นในพื้นที่ EEC จำนวนกว่า 1,000 บริษัท ที่มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของไทย นอกจากนี้ เมื่อเดือนที่กรกฎาคม ทีผ่านมา  JCC และ JETRO...
คมนาคมมาร์เก็ตติ้งอสังหาฯเศรษฐกิจเศรษฐกิจมหาภาค

รถไฟความเร็วสูงไทย-จีนคืบหน้า

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 25 และลงนามบันทึกผลการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายนิ่ง จี๋เจ๋อ รองประธานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของจีน ทำหน้าที่ประธานร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 25 และลงนามบันทึกผลการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ในวันที่ 10 สิงหาคม 2561 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมี นายพิริยะ เข็มพล เอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง นายวีรพล ปานะบุตร อัยการอาวุโส นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงคมนาคม นางศิรสา กันต์พิทยา รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ นางธิดา พัทธธรรม ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม และสำนักงานบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน ร่วมการประชุม ซึ่งได้หารือเกี่ยวกับความคืบหน้าแต่ละประเด็นของโครงการฯ ได้แก่ ความคืบหน้าการดำเนินการตามสัญญา 2.1 (สัญญาการออกแบบรายละเอียดโครงการ) และสัญญา 2.2 (สัญญาที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง) รวมถึงการเจรจาสัญญา 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร) แนวทางการดำเนินโครงการระยะที่สอง (ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย) การเชื่อมต่อทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ ความร่วมมือด้านการเงิน และแนวทางการถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงให้แก่ฝ่ายไทย...
คมนาคมนวัตกรรมรถยนต์ต่างประเทศ

มาสด้าชี้แจงข้อกล่าวหาปลอมค่าไอเสีย

มาสด้าชี้แจงกระทรวงขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานและที่ดินของญี่ปุ่น เรื่องมาตรการการประหยัดน้ำมันและการปล่อยไอเสีย มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ได้นำส่งรายงานไปยังกระทรวงขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานและที่ดินของญี่ปุ่น (MLIT) เนื่องจากได้มีการตรวจสอบในเรื่องการทดสอบด้านการประหยัดน้ำมันและการปล่อยไอเสียระหว่างตรวจสอบในเรื่องยานยนต์ในขั้นตอนสุดท้าย การตรวจสอบนี้ได้รับคำร้องจากกระทรวงขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานและที่ดินของญี่ปุ่น (หมายเลข 674) ที่ออกหนังสือไปยังผู้ผลิตรถยนต์ในวันที่ 9 กรกฎาคมหลังจากพบว่ามีการปลอมแปลงผลการทดสอบในบริษัทอื่น ข้อมูลหลักในรายงาน การตรวจสอบได้ครอบคลุมเรื่องการทดสอบการประหยัดน้ำมัน และการปล่อยไอเสียตามมาตรฐาน JC08 ของประเทศญี่ปุ่น และตามมาตรฐานสากล หรือ WLTC ซึ่งได้รับการยืนยัน ดังนี้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือ แก้ไขข้อมูลในโหมดการทดสอบทั้งสอง คือ การทดสอบตามมาตรฐาน JC08 และ WLTC ผลการทดสอบรวมถึงความผิดพลาดในเรื่องการทดสอบบนช่วงความเร็วที่กำหนด (Speed Trace Deviation) ที่ทำการทดสอบทั้งหมด 1,472 คัน และพบข้อผิดพลาด 72 คัน ในโหมดการทดสอบ JC08 ทั้งนี้ผลการทดสอบทั้งหมดได้รับการทบทวนผลทดสอบอีกครั้ง ปรากฏว่าไม่มีผลกระทบต่อตัวเลขในเรื่องของการประหยัดน้ำมันและการปล่อยไอเสีย และไม่พบข้อผิดพลาดในการทดสอบโหมด WLTC เช่นกัน สาเหตุที่ก่อให้เกิดตาม 2 ข้อดังกล่าวข้างต้น ประการแรก คือ ไม่มีการติดตั้งระบบอัตโนมัติ เมื่อพบข้อผิดพลาดของการทดสอบบนช่วงความเร็วที่กำหนด ประการที่สอง คือ กระบวนการทดสอบนั้นไม่มีการกำหนดในส่วนของข้อผิดพลาดการทดสอบบนช่วงความเร็ว แต่ขึ้นอยู่กับแต่ละผู้ทดสอบแต่ละท่าน มาตรการเพื่อป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าว โดยทางมาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จะดำเนินการ ดังนี้ อัพเดทระบบอัตโนมัติเพื่อลดข้อผิดพลาดการทดสอบบนช่วงความเร็วที่กำหนด เพิ่มบุคลากรเพื่อตรวจสอบข้อมูลต่างๆ รวมถึงข้อผิดพลาดการทดสอบ มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งสำหรับเหตุการณ์นี้ที่ทำให้ลูกค้าและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับผลกระทบ ทางมาสด้าตระหนักและแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจังและจะป้องกันในทุกวิถีทางเพื่อไม่เกิดปัญหาในลักษณะนี้ในอนาคต  ...
1 3 4 5
Page 5 of 5