พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากยุทธศาสตร์ชาติ20 ปีที่ได้มีการประกาศใช้มาระยะหนึ่งแล้วนั้นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลให้ความสำคัญคือ “ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ซึ่งในขณะนี้นานาประเทศล้วนให้ความสำคัญต่อสภาพภูมิอากาศของโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยในขณะนี้ต้องเผชิญปัญหาสภาวะฝุ่นละอองPM 2.5 ซึ่งการพัฒนาเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าMINE Smart Ferry ลำแรกในแม่น้ำเจ้าพระยาและท่าเรืออัจฉริยะ(Smart Pier) แห่งแรก นับได้ว่าเป็นการยกระดับการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางน้ำให้มีมาตรฐานความปลอดภัย ทันสมัยสามารถช่วยลดมลภาวะฝุ่นละอองและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
บริษัทมีโครงการที่จะผลิตเรือเพื่อให้บริการทั้งหมด27 ลำซึ่งจะสามารถประหยัดน้ำมันดีเซลได้ถึง4,730,000 ลิตรต่อปีและช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ถึง12,771 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปีสำหรับช่วงการเริ่มทดลองให้บริการจะเริ่มตั้งแต่วันที่23 ธันวาคม2563 ถึงวันที่14 กุมภาพันธ์2564 โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแบ่งการให้บริการออกเป็น2 ส่วนคือวันจันทร์-ศุกร์ให้บริการฟรี!!จอดรับส่งผู้โดยสารบริเวณท่าเรือ11 แห่งได้แก่ท่าเรือพระราม5 พระราม3 เกียกกายบางโพธิ์เทเวศร์พรานนกปากคลองตลาดราชวงศ์กรมเจ้าท่าแคททาวเวอร์และสาทรส่วนวันเสาร์-อาทิตย์จะให้บริการฟรี!!เฉพาะท่าเรือที่อยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวจำนวน5 แห่งได้แก่ท่าช้างวัดอรุณฯวัดกัลยาณมิตรกรมเจ้าท่าและท่าแคททาวเวอร์
โดยจะเริ่มเก็บค่าโดยสาร20 บาทตลอดสายตั้งแต่วันที่15 กุมภาพันธ์2564 เป็นเวลา6 เดือนจากนั้นจะคิดค่าโดยสารตามระยะทาง ซึ่งอยู่ในระหว่างการเสนอให้กรมเจ้าท่าพิจารณาอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม และแผนที่จะเปิดให้บริการเฟส2 อีก3 เส้นทางภายในเดือนเมษายน2564 ประกอบด้วย1.Urban Lineเชื่อมต่อไปยังรถไฟฟ้าสายสีม่วงเริ่มที่สถานีพระนั่งเกล้า-สาทร2.Metro Lineเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเริ่มที่สถานีพระราม7 และ3.City Lineเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีสาทรส่วนเฟส3 ภายในเดือนพฤษภาคม2564 จะเปิดให้บริการครบสมบูรณ์ทั้ง3 เส้นทาง
นอกจากนี้กลุ่มEA ได้ร่วมมือกับกรมเจ้าท่าในโครงการปรับปรุงท่าเรือต่าง ๆ ทั้งด้านอารยะสถาปัตย์เพื่อความสวยงามและการนำเทคโนโลยีมาใช้ในระบบการบริหารจัดการให้ทันสมัยปลอดภัยและสะดวกยิ่งขึ้นเริ่มนำร่องจากการพัฒนาท่าเรือสะพานพุทธให้เป็นท่าเรืออัจฉริยะ(Smart Pier) มีการติดตั้งDigital Signage เพื่อแจ้งข้อมูลการบริการ การออกตั๋วด้วยเครื่องอัตโนมัติการใช้อุปกรณ์ตรวจจับสิ่งผิดปกติเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น
โครงการเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้านี้เป็นส่วนสำคัญของความร่วมกับกระทรวงคมนาคม และกรมเจ้าท่า ในการดำเนินการตามแผนพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งที่หันมาให้ความสำคัญกับการนำพลังงานไฟฟ้า มาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้นเพื่อให้สอดรับกับแผนการพัฒนาประเทศการลดปัญหาการจราจรทางบกลดมลภาวะและเพื่อความสะดวกสบายของประชาชนด้วยการเชื่อมต่อการเดินทางด้วยยานยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบทั้งระบบเรือ-รถ-รางอาทิเชื่อมกับระบบรถไฟฟ้าBTS/MRT และรถโดยสารสาธารณะตามนโยบายการคมนาคมไร้รอยต่อ(Seamless Transportation)